ทำความรู้จักเทคโนโลยีเออาร์ (Augmented Reality) ความจริงเสริมโลกความเป็นจริงการบรรจบกันของโลกความเป็นจริงและเทคโนโลยี ในยุคที่อินเทอร์เน็ตเชื่อมทุกอุปกรณ์เข้าด้วยกัน เพื่อสนองรูปแบบชีวิตของคนยุคดิจิตอลในยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรม คือตัวชี้ชะตาให้กับธุรกิจต่างๆ ท่ามกลางพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิตอล ที่มีสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ตเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต อันถือเป็นปัจจัยที่ 5 ของการใช้ชีวิตของคนยุคนี้ที่ขาดไปเสียมิได้ ส่งผลให้ธุรกิจและบริการต่างๆ ต้องปรับตัวรุกเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์ กระโจนเข้าสู่อินเทอร์เน็ต และช่องทางด้าน โซเชียลมีเดียกันแบบกระบวนทัพใหญ่ ทั้งธุรกิจความบันเทิง อุตสาหกรรม ค้าปลีก การศึกษา หรือแม้แต่ ธุรกิจสื่อ ก็ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคออนไลน์เต็มรูปแบบเช่นกัน 1 ในเทคโนโลยีที่เมื่อก่อนหน้านี้ อาจจะถูกนำเอามาใช้เป็นลูกเล่นเสริมการนำเสนอของสื่อมัลติมีเดีย ให้เกิดความน่าสนใจและเป็นที่จับตามองมาตลอดหลายปี คือเทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม หรือ เออาร์ (AR : Augmented Reality Technology) ที่สามารถผนวกโลกแห่งความเป็นจริงและโลกดิจิตอลเข้าด้วยกัน บนเทคโนโลยีเสมือนจริงที่แสดงภาพดิจิตอลซ้อนทับบนสภาพแวดล้อมของจริงได้ เพื่อสร้างความดึงดูด น่าสนใจ และมุมมองเพิ่มเติมแก่สินค้าและบริการต่างๆ
วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560
คุณเคยได้ยิน AR Technology ไหม?
ทำความรู้จักเทคโนโลยีเออาร์ (Augmented Reality) ความจริงเสริมโลกความเป็นจริงการบรรจบกันของโลกความเป็นจริงและเทคโนโลยี ในยุคที่อินเทอร์เน็ตเชื่อมทุกอุปกรณ์เข้าด้วยกัน เพื่อสนองรูปแบบชีวิตของคนยุคดิจิตอลในยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรม คือตัวชี้ชะตาให้กับธุรกิจต่างๆ ท่ามกลางพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิตอล ที่มีสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ตเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต อันถือเป็นปัจจัยที่ 5 ของการใช้ชีวิตของคนยุคนี้ที่ขาดไปเสียมิได้ ส่งผลให้ธุรกิจและบริการต่างๆ ต้องปรับตัวรุกเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์ กระโจนเข้าสู่อินเทอร์เน็ต และช่องทางด้าน โซเชียลมีเดียกันแบบกระบวนทัพใหญ่ ทั้งธุรกิจความบันเทิง อุตสาหกรรม ค้าปลีก การศึกษา หรือแม้แต่ ธุรกิจสื่อ ก็ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคออนไลน์เต็มรูปแบบเช่นกัน 1 ในเทคโนโลยีที่เมื่อก่อนหน้านี้ อาจจะถูกนำเอามาใช้เป็นลูกเล่นเสริมการนำเสนอของสื่อมัลติมีเดีย ให้เกิดความน่าสนใจและเป็นที่จับตามองมาตลอดหลายปี คือเทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม หรือ เออาร์ (AR : Augmented Reality Technology) ที่สามารถผนวกโลกแห่งความเป็นจริงและโลกดิจิตอลเข้าด้วยกัน บนเทคโนโลยีเสมือนจริงที่แสดงภาพดิจิตอลซ้อนทับบนสภาพแวดล้อมของจริงได้ เพื่อสร้างความดึงดูด น่าสนใจ และมุมมองเพิ่มเติมแก่สินค้าและบริการต่างๆ
ขั้นตอนการทำ AR และองค์ประกอบของ AR
ขั้นตอนการทำ AR
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
1.
การวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็นขั้นตอนการค้นหา
Marker จากภาพที่ได้จากกล้องแล้วสืบค้นจากฐานข้อมูล (Marker
Database) ที่มีการเก็บข้อมูลขนาดและรูปแบบของ Marker เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบของ Marker การวิเคราะห์ภาพ
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพโดยอาศัย Marker
เป็นหลักในการทำงาน (Marker based AR) และการวิเคราะห์ภาพโดยใช้ลักษณะต่างๆ
ที่อยู่ใน ภาพมาวิเคราะห์ (Marker-less based AR)
2.
การคำนวณค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ (Pose
Estimation) ของ Marker เทียบกับกล้อง
3.
กระบวนการสร้างภาพสองมิติ จากโมเดลสามมิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในภาพ โดยใช้ค่าตำแหน่ง เชิง 3 มิติ ที่คำนวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง
องค์ประกอบของ AR
1.AR Code หรือตัว Marker
ใช้ในการกำหนดตำแหน่งของวัตถุ
2.Eye
หรือ กล้องวิดีโอ กล้องเว็บแคม กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือ ตัวจับ Sensor
อื่นๆ ใช้มองตำแหน่งของ AR Code แล้วส่งข้อมูลเข้า
AR Engine
3AR
Engine เป็นตัวส่งข้อมูลที่อ่านได้ผ่านเข้าซอฟต์แวร์หรือส่วนประมวลผล
เพื่อแสดงเป็นภาพต่อไป
4.Display
หรือ จอแสดงผล เพื่อให้เห็นผลข้อมูลที่ AR Engine ส่งมาให้ในรูปแบบของภาพ หรือ วีดีโอ หรืออีกวิธีหนึ่ง เราสามารถรวมกล้อง AR
Engine และจอภาพ เข้าด้วยกันในอุปกรณ์เดียว เช่น โทรศัพท์มือถือ
หรืออื่นๆ
AR กับ การศึกษา
AR สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการศึกษา ให้ข้อมูลสาระที่ด้านการศึกษากับผู้เรียนได้ทันที ผู้เรียนได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ในมิติที่เสมือนจริง ผู้เรียนเกิดกระบวนการร่วมกันเรียนรู้ ครูผู้สอนเสริมสร้างความรู้ของผู้เรียนผ่านการสาธิต การสนทนา รูปแบบการเรียนรู้จะปรับเปลี่ยนเป็นโลกเสมือนผสานโลกจริงมากขึ้นสงเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจลึกซึ้งในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
สถานศึกษา นักการศึกษา ผู้สอนจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการนำเทคโนโลยีเสมือนผสานโลกจริงมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับมีประสบการณ์มีความหมายลึกมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเนื้อหาที่ได้เรียนรู้กับสถานที่หรือวัตถุที่เฉพาะเจาะจงเหมาะสมกับเนื้อหาที่เรียนรู้ด้วยภาพสามมิติ โดยการผนวกเข้ากับการเรียนรู้แบบสำรวจด้วยเทคโนโลยีมือถือและอุปกรณ์สมัยใหม่ ที่ทำให้การเรียนสามารถจะขยายออกหรือย้ายการเรียนรู้สู่นอกห้องเรียนมากขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้จากรูปแบบเดิม และในบางกรณีเทคโนโลยีเสมือนผสานโลกจริงสามารถผนวกเข้ากับรูปแบบการเรียนรู้อื่นๆ เข้าไป เช่นการนำมาใช้กับเกมการศึกษา นำมาใช้กับกิจกรรมสงเสริมการทำงานเป็นทีม และนำมาใช้การเรียนรู้แบบท้าทาย เป็นต้น
AR dกับ VR ต่างกันอย่างไร
AR กับ VR ต่างกันอย่างไร อย่าเพิ่งงงเด้งงเด้
Augmented reality หรือ AR คือ การรวม สภาพแวดล้อมจริง กับ วัตถุเสมือน เข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน โดยวัตถุเสมือนที่ว่านั้น อาจจะเป็น ภาพ, วิดิโอ, เสียง, ข้อมูลต่างๆที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์, มือถือ, เทปเล็ต, หรืออุปกรณ์สวมใส่ขนาดเล็กต่างๆ และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้
ตัวอย่างของการใช้งาน AR ก็คือ
ตัวอย่างของการใช้งาน AR ก็คือ
การโฆษณา
การศึกษา
เกม Pokemon Go
Virtual reality หรือ VR ก็คือ เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมจริงเข้าไปให้เสมือนจริง นั้นเอง โดยพยายามทำให้เหมือนจริงโดยผ่านการรับรู้ของเราไม่ว่าจะเป็น การมองเห็น เสียง การสัมผัส หรือแม้กระทั้งกลิ่น และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้
ตัวอย่างของการใช้งาน VR ก็คือ
ตัวอย่างของการใช้งาน VR ก็คือ
การจำลองการขับเครื่องบิน
การประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่าง ๆ
ประโยชน์ของ AR
ประโยชนฺของ AR มีดังนี้
เมื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้โดยอาศัยพัฒนาการของเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริงสามารถนำมาใช้กับการเรียนการสอนแบบปกติแบบเผชิญหน้า ในลักษณะร่วมกันเรียนรู้ในห้องเรียนหรือห้องเรียนระยะไกล ผู้เรียนจะได้ใช้กระบวนการคิด การใช้ภาษาพูด ภาษาท่าทาง หรือการสื่อสารอื่นๆ นำมาใช้ในการเรียนรู้ ทั้งนี้เนื่องจากโลกเสมือนผสานโลกจริง มีศักยภาพการนำเสนอเนื้อหาที่ได้เปรียบกว่าการใช้สื่อแบบเดิมและเปิดโอกาสให้สามารถใช้การรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ด้วยการเรียนรู้ที่เพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ทางกายภาพในรูปแบบสามมิติของผู้เรียนร่วมกันและสร้างรูปแบบการตอบสนองและปฏิสัมพันธ์ที่แปลกใหม่ร่วมกันได้ โดยเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตีมีข้อดีดังนี้
1. ลดข้อจำกัดในเรื่องของรอยต่อระหว่างสภาพแวดล้อมจริงและเสมือนได้
2. ความสามารถในการยกระดับความเป็นโลกแห่งความจริงได้
3. ร่วมกันเรียนรู้แบบเผชิญหน้ากันได้ทั้งในห้องเรียนเดียวกันและได้จากระยะไกล
4. การแสดงตัวตนของผู้เรียนที่มีตัวตนได้มากขึ้น
5. สามารถเปลี่ยนแปลงการส่งผ่านสารสนเทศ และการตอบสนองระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกเสมือนได้อย่างดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)